top of page
henri_vieuxtemps_par_marie-alexandre_alo

H. Vieuxtemps: Violin Concerto No. 5

 

Literature Review

  • Henri Vieuxtemps

เกิดวันที่17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2363-2424 เป็นนักประพันธ์เเละนักไวโอลินชาวเบลเยี่ยม Vieuxtemps เป็นตัวเเทนการเล่นstyle French-Belgian School ในช่วงศตวรรษที่19 เขาเป็นคนสำคัญที่นำ style การเล่นเเบบ French- Belgian School เข้าสู่ยุคโรเเมนติคถึงเเม้ว่าเขาจะทำไม่สำเร็จในบทบานนั้นก็ตามเเต่บทบาทนักประพันธ์ขิงเขานั้นมีเอกลักษณ์ ท่วงทำนองของเขาน่าดึงดูดใจ เพลงทั้งหมดของเขาเกี่ยวกับไวโอลิน Vieuxtemp ได้ทิ้งมรดกไว้นั่นก็คือวิธีการเล่น Style อันเป็นเอกลักษณ์ของเขา

  • H.  Vieuxtemps เริ่มเรียนดนตรีตั้งเเต่อายุ4ขวบ ครูคนเเรกของเขาก็คือ พ่อของเขานั่นเองซึ่งดเป็นนักไวโอลินมือสมัครเล่น(ช่างทอผ้า) หลังจากนั้นเขาก็ได้เรียนกับ Lecloux-Dejonc เเละเริ่มเรียนViolin Concerto ครั้งเเรกเมื่ออายุ6ปี เเละเริ่มtour concert ครั้งเเรกตอนอายุ8ปีที่เมืองLiege  เเละเมือง บรัสเซลส์เเละเมืองใกล้เคียง ซึ่งต่อมาเขาได้พบกับบุคคลสำคัญที่พาVieuxtemp เข้าสู่ระบบโรงเรียนนั่นก็คือ Charles de Beriot เเละ Beriot เป็นคนเเนะนำให้ผู้ชมชาวฝรั่งเศสรู้จักกับVieuxtemp ในคอนเสิร์ต Youth’s debut Concert 

  • ในปี1831 Beriot แต่งงาน ทำให้Vieuxtemps ต้องหยุดเรียนในปีนี้เอง หลังจากนั้นเขาได้เดินทางไปเมืองบรัสเซลส์เเละทำงานร่วมกับ Pauline Garcia น้องเขยของ Beriot ถึงเเม้ว่า Pauline จะไม่ได้สอน Vieuxtempแต่ Vieuxtemos ก็ได้รับความช่วยเหลือจากเขามากมายในการเเสดงคอนเสิร์ต

  • ในปี1833 Vieuxtemps ได้ไปทัวร์คอนเสิร์ตที่เยอรมันเเละออสเตรีย พร้อมกับพ่อของเขาครั้งนี้ Vieuxtemps แสดงเพลง Violin Concerto in D Major by Beethoven ที่ประเทศออสเตรียเเละที่นี่เองทำให้Vieuxtemps ได้ประกาศตั้งถิ่นฐานที่เวียนนาชั่วคราว เเละเรียนComposition จาก Sechter ในตอนนั้นเอง

  • ในปี 1834 Vieuxtemps ได้เดินทางไปกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เเละได้พบกัน Niccolo Paganini เป็นครั้งเเรก ทั้งคู่ต่างประทับใจซึ่งกันเเละกัน

  • ในปี1836 Vieuxtemps ได้เดินทางไปประเทศฝรั่งเศส เพื่อศึกษษCompositionกับ Antonin Reicha เเละเริ่มเเต่งConcerto บทเเรกขึ้น

  • ในปี1837-1840 Vieuxtemps ได้เริ่มทัวร์คอนเสิร์ตที่ประเทศรัสเซีย  ในระหว่างที่เขาทัวร์คอนเสิร์ตอยู๋นั้น Vieuxtemps ได้รับบาดเจ็บต้องใช้ระยะเวลานานในการพักฟื้นเป็นเวลาที่นานซึ่งการบาดเจ็บเกิดในขฯะที่เขากำลังทัวร์คอนเสิร์ตเมืองสุดท้ายในรัสเซีย หลังจากนั้นVieuxtemps ได้เเต่งConcerto ขึ้นมาอีกบทซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมมากในปารีส

  • ในปี1843-1844 Vieuxtemps ได้เดินทางไปเล่นคอนเสิร์ตที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ปีหลังจากทัวร์อเมริกาเสร็จ Vieuxtemps ได้เเต่งงานกันนักเปียโนชาวเวียนนา Josephine Eder ซึ่งในขณะนั้นกำลังเป็นที่โด่งดังในรัสเซีย เเละเรื่มเเต่งบทเพลง Violin Concerto no.4 ขึ้นมาในวันที่31

  • ในปี 1851 Vieuxtemps ออกจากรัสเซียเเละกลับมาทำงานต่อในฐานะนักเเสดงเเละจัดทัวร์ที่อเมิริกาเป็นรอบที่2 

  • ในปี1855 Vieuxtemps ได้เดินทางตั้งรกรากอยู่ในประเทศเยอรมัน

  • ในปี1861 Vieuxtemps ประสบความสำเร็จอีกครั้งในบทเพลง Violin Concerto no.5  หลังจากนั้น vieuxtemps ได้ย้ายไปอยู่ที่ปารีสเเทนเพราะเนื่องจากความไม่มั่งคงทางการเมืองในเเฟรงเฟิร์ต

  • ในปี1868 ภรรยาของเขาเสียชีวิตโดยกระทันหัน

  • ในปี1871 Vieuxtemps ได้เดินทางกลับมาที่เมืองบรัสเซลส์เพื่อรับตำเเหน่งอาจารย์สอนที่ Brussels Conservatory นักเรียนของเขาก็คือ Evgene Ysaye

  • ในปี1873 Vieuxtemps ได้รับบาดเจ็บที่เเขนขวา ทำให้เขาต้องหยุดอาชีพในฐานะศิลปินเดี่ยวเเละหันมาเล่นChamber music แทน 

  • ในปี1878 Vieuxtemps ได้ย้ายไปใช้ชีวิตช่วยสุดท้ายกับลูกสาวของเขาที่เเอลจีเรีย




Exposition ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญๆคือ 1.Exposition ประกอบด้วย ธีม ย่อยๆ โดย ธีม จะอยู่ในคีย์ Tonic และธีม 2 จะอยู่ใน Key Dominant มีส่วนของท่อน Transition เชื่อม และปิดท้ายด้วย Closing Theme ก่อนจะ modulate ไปคีย์อื่น ในท่อน Development 

11001.png

                                     รูปที่1: Vieuxtemps Violin Concerto no.5 ห้องที่1-12


 

เริ่มบทเพลงด้วยเพลงเครื่องสายที่เปิดตัวมาด้วยทำนองที่จดจำง่าย กลุ่มStrings เริ่มทำนองเเละส่งต่อให้กับWoodwind  เล่นล้อทำนองสลับกันไปมา อธิบายทำนองที่จดจำง่ายนี้ด้วยว่ามีลักษณะอย่างไรถึงจดจำง่าย

1002.png

 

                                         รูปที่ 2: Vieuxtemps Violin Concerto no.5 ห้องที่91-97

Theme 1 เริ่มตั้งเเต่ห้องที่ 91 

ทำนองช้าที่บรรเลงโดยเเนวบรรเลงเดี่ยว โดยทำนองนี้จะเล่นล้อไปกับคลาริเน็ตซึ่งจะเล่นทำนองเดียวกับโซโล่กันไปมา

1004.png

                                            รูปที่ 4: Vieuxtemps' Violin Concerto no.5 ห้องที่120-135

 

Theme 2 เริ่มตั้งเเต่ห้องที่ 127 ทำนองช้าอีกทำนองที่เเตกต่างไปจากเดิม บรรดลงโดยแนวเดี่ยวไวโอลินเเละกลุ่มเครื่องสาย เล่นดีดเป็นตัวเขบ็ต 1 ชั้น

1005.png

                                                                             

 

 

                                                       รูปที่ 5: Vieuxtemps' Violin Concerto No. 5 ห้องที่ 190-199
 

    ทำนองหลักนี้กลับมาอีกครั้ง โดยกลุ่มไวโอลิน 1 เเละกลุ่มฮอร์นเเละทรัมเป็ตจะเล่นทำนองหลักตั้งเเต่ห้อง192  เเละกลุ่มไวโอลินสอง วิโอลา เชลโล จะเป็นเขบ็ต 2 ชั้น ล้อไปกับทำนอง

 

 

   Development คือส่วนที่นำเอาบางวลีหรือบางวรรคจาก themes ต่างๆใน exposition มาพัฒนาด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ให้เครื่องดนตรีต่างๆผลัดกันยรรเลงด้วยระดับเสียงต่างๆกัน หรือเปลี่ยน key 

1006.png

                                         

 

                                           รูปที่ 6: Vieuxtemps' Violin Concerto No. 5 ห้องที่ 257-266


 

  Developmentทำนองนี้เป็นอีก1ทำนองที่ได้ถูกบรรเลงมาก่อนเเล้ว เเต่มีบางอย่างที่ไม่เหมือนเดิม นั่นก็คือไม่ได้มีเเค่orchestra ที่เล่นทำนองนี้ เเต่ครั้งนี้มีเเนงเดี่ยวไวโอลินเล่นTriplet ห้องที่257-283เเละทำนองหลักอยู่ที่Orchestra

Recapitulation คือการกลับมาของ Key แรกในท่อน Exposiion อาจมีท่วงทำนองเดิมเข้ามาด้วยเป็นหลัก และมีท่อน Transition เชื่อมก่อนไปสู่ส่วนสุดท้าย ที่อาจมีการเปลียนแปลงทำนอง แต่ยังใช้ Key เดิมอยู่ หรืออาจเปลี่ยนเป็นคีย์คู่ขนานได้ คือ ระหว่าง Major กับ minor

1007.png

                                                     

 

                                              รูปที่7:Vieuxtemps Violin Concerto no.5

 

ในท่อนนี้จะกลับมาอยู่ในคีย์เดิมคือ A minor มีการนำเเนวทำนองในท่อนExposition ในห้องที่1-12เข้ามาในท่อนนี้จะเพิ่มเเนวทำนองที่โลดโผนบรรเลงโดยเเนวเดี่ยวไวโอลิน

bottom of page